ส่วนประกอบของกีตาร์โปร่ง
ส่วนประกอบกีตาร์โปร่ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนได้แก่
ส่วนของหัวกีตาร์กีตาร์โปร่ง ส่วนของคอกีตาร์โปร่ง ส่วนของลำตัวกีตาร์โปร่งส่วนของหัวกีตาร์กีตาร์โปร่ง ส่วนของคอกีตาร์โปร่ง ส่วนของลำตัวกีตาร์โปร่งส่วนของหัวกีตาร์กีตาร์โปร่ง ส่วนของคอกีตาร์โปร่ง ส่วนของลำตัวกีตาร์โปร่ง
ส่วนของหัวกีตาร์กีตาร์โปร่ง ส่วนของคอกีตาร์โปร่ง ส่วนของลำตัวกีตาร์โปร่งส่วนของหัวกีตาร์กีตาร์โปร่ง ส่วนของคอกีตาร์โปร่ง ส่วนของลำตัวกีตาร์โปร่งส่วนของหัวกีตาร์กีตาร์โปร่ง ส่วนของคอกีตาร์โปร่ง ส่วนของลำตัวกีตาร์โปร่ง
1.1ลูกบิด ( Tuning
Keys )
คือ ที่จะเอาไว้ใส่สาย ตรงที่เป็นลูกบิดเรียกว่า Tuners ควรลองบิดว่ามันหลวมไปไหม
บิดแล้วเจ็บมือไหม เพราะถ้าหลวมไปบิดแล้ว มันก็จะเพี้ยนง่ายคะ
ส่วนประกอบของลูกบิด
คือเฟืองเล็กๆควรเลือกฟันละเอียดและแข็งแรง ถ้าเป็น guitar
acousticใช้สายnylon ต้องใช้แกนหมุนซึ่งทำด้วย
plastic,งาช้าง(ไม่แนะนำ)หรือใช้กระดูกที่มีขนาดเส่นผ่าศูนย์กลาง
4/8 นิ้ว ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์ค แกนควรเป็นเหล็กที่ไม่เป็นสนิม
ขนาดของแกนเหล็กควรมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3/16 นิ้ว
สายเหล็กจะขึงง่ายและไวต่อการเปลี่ยนแปลง และยืดหยุ่นได้น้อยกว่า ซึ่งจากสาย
nylon กรณีที่ลูกบิดกีตาร์ ของเรา ถ้าลูกบิดฝืดให้ทาครีม ถ้าลื่นเกินไปให้โรยแป้งจะได้ไม่ลื่นมาก
1.2 Tuners posts
คือส่วนตรงที่มีรูให้เอาสายแหย่เข้าไป นั่นแหละ
1.3 นัท (nut)
คือ หย่องหรือสะพานสายบน นั่นแหละปกติผมเรียกนัท
มันจะติดอยู่ปลายบนสุดของfinger board เพื่อรองรับสายกีตาร์โปร่งให้ยกสูงจากฟิงเกอร์บอร์ด
action คือ ระยะความสูงของสายกับ finger
board
!ถ้าตั้งสูงไปคุณจะต้องออกแรงกดสายมากขึ้นก็จะเจ็บนิ้วปวดนิ้วมากขึ้น
!ถ้าตั้งต่ำไปก็จะทำให้สายตีกับเฟรท หรือเรียกว่า ติดเฟรท นั่นเอง
การปรับแต่งนั้นคุณสามารถที่จะทำได้ด้วยตัวเอง
กรณีที่ต่ำไปก็หาเศษกระดาษหนา,เศษไม้มารองได้นัทจนได้ความสูงที่คุณพอใจ
โดยทั่วไปประมาณ
2 mm
สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าที่มีชุดคันโยก
มันจะนัทแบบที่lockสายกีตาร์ได้ เพื่อกดสายกีตาร์เพื่อกันสายคลายหรือสายเคลื่อนเมื่อเล่นคันโยกไปนานๆ
2.ส่วนคอ ( neck )
2.1 คอกีตาร์
คือส่วนที่เราใช้มือจับคอร์ดเล่น หรือที่วางมือแตะโน๊ตแต่ละตัว มีความสำคัญมากสำหรับกีตาร์โปร่ง
ก่อนที่ซื้อคุณจะต้องดูกายภาพโดยรวมให้ดีดังที่แนะนำในบทความการเลือกซื้อกีตาร์
2.2 fingerboard
คือแผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีตาร์อีกชั้น มักจะลวดลายมุกประดับต่าง ๆ
ไม้ต่างกันเสียงก็ต่างกัน
2.3 เฟรท (fret)
คือโลหะฝังอยู่บนคอกีตาร์โปร่งเป็นตัวที่จะกำหนดเสียงของโน๊ตดนตรี
จากการกดสายกีตาร์ลงบนเฟรทต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราเปลี่ยนเฟรท
ระดับเสียงก็เปลี่ยนไปด้วย ฉะนั้นระยะระหว่างเฟรทแต่ละตัวควรต้องได้มาตรฐาน
เพราะจะทำให้เสียงเพี้ยนได้เราสามารถเชคจาก ฮาโมนิค
จำนวนของเฟรทก็จะขึ้นกับความยาวของคอกีตาร์โปร่ง
ปกติกีตาร์คลาสสิกจะมีประมาณ 18 ตัว กีตาร์โฟล์คประมาณ
20 ตัว แต่กีตาร์ไฟฟ้าซึ่งมักจะมากขึ้นประมาณ 22-24 ตัว และกีตาร์คลาสสิกซึ่งคอกีตาร์แบนราบ เฟรทก็จะตรง
แต่กีตาร์โฟล์คหรือกีตาร์ไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่คอจะโค้งเล็กน้อยครับ
2.4 มุกประดับ
คือมุกที่ให้ใช้สังเกตตำแหน่งช่องกีตาร์ ปกติจะฝังที่ช่อง (1),3,5,7,9(10),12,14,17,19,21
(ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผู่ผลิต)
กีตาร์คลาสสิกจะไม่มีมุกประดับฝังบนหน้า finger board แต่จะฝังด้านข้างแทน
แต่กีตาร์โฟล์คและกีตาร์ไฟฟ้าจะฝังไว้ทั้ง 2 ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิตจะออกแบบ
โดยทั่วไปจะเป็นรูปวงกลม บาทีก็รูปข้าวหลามตัด
หรือที่แพงหน่อยก็จะเป็นลายพวกไม้เลื้อย ลายเลื้อยๆ เลื้อยไปตามหน้าfinger
board
2.5 ก้านเหล็กปรับแต่งคอ (Truss Rod)
ในกีตาร์โปร่งที่อยู่ในระดับกลางขึ้นไปจะมีแท่งเหล็กฝังอยู่ตามความยาวคอกีตาร์ด้วยเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกีตาร์ป้องกันการโก่งตัวของคอกีตาร์ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เมื่อคอกีตาร์เกิดโก่งงอไปแต่การปรับแต่งนั้นถ้าคุณไม่แน่ใจอย่าเสี่ยงนะครับเพราะถ้าคุณฝืนมันมากไปอาจทำให้คอกีตาร์เสียหายก็ได้ให้ผู้ที่เขาชำนาญทำดีกว่าคะ
3.ส่วนลำตัว(body)
ลำตัวกีตาร์โปร่ง (body) หมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า(top) ด้านหลัง (back) และด้านข้าง (side) ส่วนที่เว้าของbody บางทีเราก็เรียกว่า เอว
3.1 โพรงเสียง
(sound hole)
คือรูกลม
ๆ ที่อยู่บนด้านหน้าของ body นั่นเอง ทำหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีตาร์ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น
คือตัวยึดสายให้ติดกับ
bodyถ้าเป็นกีตาร์คลาสสิกจะเจาะรูในแนวขนานกับ body กีตาร์ ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์คจะเจาะรูในแนวตั้งฉากกับ
body ปัจจุบันกีตาร์โฟล์คมักจะมีบริดจ์ที่ปรับความสูงต่ำของสายได้
โครงยึด(braces) คือ ไม้เสริมอยู่ในโพรงเสียง
โครงยึดภายในกีตาร์คลาสสิคสายไนล่อน เป็นรูปพัด
โครงยึดภายในกีตาร์โฟล์ค
สายเหล็กเป็นรูปกากบาท
แต่ปัจจุบันมีโครงยึดที่มีไม้ขวางกับลำตัวกีตาร์
เสียเป็นส่วนมากสำหรับบริดจ์ของนักกีตาร์โฟล์คที่ใช้หมุด(pin)มักจะให้
เสียงดีกว่าบริดจ์ทีใช้เทลพีซรองรับสายส่วนบนและบริดจ์รองอยู่ที่ข้างใต้อีก
3.3 หมุดยึดสาย(pin)
คือ
หมุดล็อคอยู่ที่ปลายสาย
3.4 หย่อง
(saddle)
คือ ส่วนที่ยึดอยู่กับสะพานสาย
เพื่อรองรับสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย มีทั้งแบบตรงสำหรับกีตาร์คลาสสิก
และแบบโค้งสำหรับกีตาร์โฟล์ค
บางรุ่นสามารถปรับความสูงของตัวมันได้ถ้าสูงไปสามารถจะถอดมาแล้วใช้ตะไบหรือกระดาษทรายขัดที่ฐานของมันให้ความสูงลดลง
ถ้าต่ำไปก็หาเศษไม้หรือกระดาษมาเสริมให้สูงตามความพอใจ
อ้างอิงจาก:
http://guitar4view.blogspot.com/2013/10/component-of-acoustic-guitar.html